วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้าวโพดหวานไร่สุวรรณ

น้ำนมข้าวโพดหวาน สูตรไร่สุวรรณผลิตภัณฑ์สร้างชื่อ

น้ำนมข้าวโพดหวานสูตรไร่สุวรรณ ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติหรือที่รู้จักกัน ในนามไร่สุวรรณ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 155-156 บ้านปางอโศก ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นอยู่ที่ความหอมหวาน รสชาติอร่อยอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูงเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ
อ.สุรพล เช้าฉ้อง นักวิชาการเกษตร (ชำนาญการ) ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) ซึ่งรับผิดชอบสายงานการผลิตน้ำนมข้าวโพดหวาน ของศูนย์ เล่าว่า ศูนย์เริ่มปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 เมื่อปี 2540 หลังจากที่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าว ขึ้นมา จากนั้น 3 ปีต่อมาก็นำข้าวโพดหวานสายพันธุ์ดังกล่าวมาส่งเสริมให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ บริเวณใกล้เคียงปลูก โดยศูนย์จะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดในราคาประกันกิโลกรัมละ 8 บาท
 "น้ำนมข้าวโพดเรา เริ่มทำในปี 2545 ตอนนั้นข้าวโพดหวานที่นำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกนั้นผลผลิตเริ่มออกมามาก การจำหน่ายข้าวโพดดิบออกสู่ตลาดเริ่มมีปัญหา เราจึงนำมาทดลองแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพดหวาน ปรากฏว่าขายดีมาก เป็นที่นิยมของผู้บริโภค จากนั้นเป็นต้นมาผลผลิตที่เก็บเกี่ยวทั้งหมดเราจึงนำมาทำผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพด"
 นักวิชาการเกษตรคนเดิมระบุอีกว่า ปัจจุบันพื้นที่ไร่สุวรรณจะปลูกข้าวโพดเพื่อการทดลองวิจัยเท่านั้น แต่ข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำนมข้าวโพดนั้น จะเป็นของเกษตรกรที่เป็นลูกไร่ของศูนย์ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 60 ราย โดยผลผลิตทุกแปลงของชาวบ้านจะอยู่ในความควบคุมดูแลจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ ตลอดตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว เพราะเราต้องการให้ได้ข้าวโพดที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อนำมาทำผลิตภัณฑ์ น้ำนมข้าวโพด
 จุดเด่นของข้าวโพดหวานสายพันธุ์นี้อยู่ที่ความหอมกว่าข้าวโพดหวานสายพันธุ์อื่น เมื่อนำมาผลิตเป็นน้ำนมข้าวโพดทำให้ มีรสชาติหอมหวานชวนดื่ม ซึ่งในระยะแรกมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 400-500 ขวด โดยใช้เครื่องปั่น แต่ปัจจุบันใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ซึ่งขณะนี้ศูนย์สามารถผลิตน้ำนมข้าวโพดออกสู่ตลาดเฉลี่ยวันละ 6,000 ขวด โดยใช้วัตถุดิบผลผลิตข้าวโพดอยู่ที่ประมาณ 3.5 ตันต่อวัน ปัจจุบันสนนราคาจำหน่ายอยู่ที่ขวดละ 14 บาท
 "ที่จริงข้าวโพดหวานทุกสายพันธุ์สามารถนำมาทำน้ำนมข้าวโพดได้ หมด แต่พันธุ์อินทรี 2  เด่นกว่าสายพันธุ์อื่นตรงที่มีความหอมมากกว่า ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ปรับปรุงขึ้นมา เราจึงต้องการเผยแพร่ผลงานวิจัยของเราด้วย นี่คือเหตุผลที่เรานำข้าวโพดหวานสายพันธุนี้มาทำน้ำนมข้าวโพด แต่ปีหน้า (2553) เราจะสร้างโรงงานผลิตต้นแบบอีกโรง ผู้สนใจเยี่ยมโรงงานและกระบวนการผลิตติดต่อได้ที่โทร.08-9946-2916 "อ.สุรพล กล่าวย้ำ พร้อมเชิญชวนผู้สนใจร่วมงานเกษตรแฟร์ปากช่องครั้งที่ 7 ประจำปี 2552 ซึ่งจัดขึ้น ณ ไร่สุวรรณ ระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งภายในงานจะมีการสาธิตกระบวนการผลิตน้ำนมข้าวโพดหวานสูตรไร่สุวรรณอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนด้วย
 น้ำนมข้าวโพดหวาน สูตรไร่สุวรรณ นับเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ไม่เพียงสร้างเงินสร้างงานให้ชาวบ้านรอบศูนย์ เท่านั้นยังเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสำหรับคนรัก สุขภาพอีกด้วย
   
กระบวนการผลิตน้ำนมสูตรไร่สุวรรณ

 อ.สุรพล เช้าฉ้อง นักวิชาการเกษตรไร่สุวรรณ อธิบายถึงกระบวนการผลิตน้ำนมข้าวโพดหวาน สูตรไร่สุวรรณ เริ่มจากการนำข้าวโพดดิบมาปอกเปลือก จากนั้นก็เข้ากระบวนการฝานเพื่อเอาแต่เนื้อข้าวโพด โดยผ่านเครื่องจักร เมื่อได้เนื้อข้าวโพดตามที่ต้องการแล้วก็นำมาผสมกับน้ำสะอาดและเกลือใน อัตราส่วน เนื้อข้าวโพด 15 กิโลกรัม น้ำสะอาด 25 กิโลกรัม และเกลือเม็ด 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นก็นำมาใส่หม้อต้มในน้ำเดือดประมาณ 15-20 นาที ก่อนนำเข้าเครื่องบดเพื่อแยกกากออกให้เหลือแต่น้ำนมแล้วก็นำมากรองในตะแกรง ละเอียดอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเศษกากข้าวโพดปะปนอยู่ จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนปรุงรสปรับความหวาน โดยเติมน้ำเชื่อมและเกลือ 1 ช้อนชา แล้วนำไปนึ่งในซึ้งต่ออีกประมาณ 10 นาที จากนั้นนำมาบรรจุขวดปิดฝาแล้วนำมาแช่ในถังน้ำแข็งต่ออีกประมาณ 10 นาที ก่อนนำไปเก็บในถังน้ำแข็งและพร้อมส่งจำหน่ายต่อไป
     
 สุรัตน์ อัตตะ

คมชัดลึก


วิดีโอ การผลิตน้ำนมข้าวโพดไร่สุวรรณ คลิก

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปงานออกแบบบรรจุภัณฑ์การบูรหอม


การดำเนินการตามขั้นตอน 3 .
1.วิเคราะห์ ข้อมูล 
ศึกษา และสืบค้นเกี่ยวกับเครื่องสาน สาเหตุที่ใช้เครื่องสาน เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมรายได้ให้แก่ชาวบ้าน และยังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 

   ราคาเครื่องจักรสาน
ชะลอม
ราคาขายปลีกอันละ 5บาท

ราคาขายส่งอันละ3บาท

กระติบ
ราคาขายปลีก35บาท
ราคาขายส่ง25บาท
แหล่งหาซื้อ ตามหมู่บ้านที่ทำเครื่องจักรสาน หรือตัวแทนจำหน่ายตามตลาดนัดจตุจักร
ที่มาของเครื่องจักรสาน
งาน จักสาน เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านนครไทย ทำขึ้นเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นวัสดุสร้างเป็น เครื่องจักสานประเภทต่างๆ

การทำเครื่องจักรสานโดยทั่วไป มีกรรมวิธีการสานและรูปแบบคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ แต่วัตถุดิบที่ใช้จะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น เครื่องจักรสานทั่วๆไปจะมีรูปแบบตามความนิยมขนบธรรมเนียมประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่น เครื่องจักรสานจึงเป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาของคนในแต่ละท้องถิ่น

1.วัตถุดิบ ที่นำมาใช้ทำเครื่องจักรสานของชาวนครไทย ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ไผ่ โดยนำไม้ไผ่มาจักเป็นตอกเป็นเส้น เพื่อให้สานสิ่งต่างๆ ได้สะดวกและได้รูปทรงตามต้องการ ไม้ไผ่ที่นำมาใช้ทำเครื่องจักสาน เช่น ไผ่สีสุก, ไผ่รวก, ไผ่เฮี้ยะ(ไม้เฮี๊ยะ),ไผ่ข้าวหลามนอกจากไม้ไผ่ ชาวนครไทยยังนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ทำเครื่องจักสาน เช่น หวาย เป็นต้น

2.เครื่องมือที่ใช้ทำเครื่องจักรสาน2.1 มีด ที่ใช้โดยทั่วไปเป็นมีดเหล็กกล้าเนื้อแกร่ง มี 2 ชนิด คือ

2.1.1 มีดสำหรับผ่าและตัดเช่น มีดอีโต้ ใช้ตัดและผ่าไม้ไผ่และหวาย ที่จะใช้ทำเครื่องจักรสานให้มีขนาดตามต้องการ ก่อนที่จะนำไปจักเป็นตอก2.1.2 มีดตอก คือ มีดสำหรับจักตอก เป็นมีปลายเรียวแหลม ปลายและด้ามงาน ส่วนมากตัวจะส้นกว่าด้ามเพราะในการจักหรือเหลาตอกจะใช้ด้ามสอดเข้าไประหว่างแขนกับลำตัว เพื่อให้จักหรือเหลาตอกได้สะดอก2.2 เหล็กมาด เป็นเหล็กปลายแหลม ใช้สำหรับเจาะ ไซ งัด แงะ2.3 คีมไม้ มีรูปร่างคล้ายคีมทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่และทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เพื่อใช้หนีบปากภาชนะจักสานเพื่อเข้าขอบเช่น ใช้หนีบขอบกระบุง ตะกร้า กระจาด คีมจะช่วยให้ช่างจักรสานเข้าขอบภาชนะจักสานได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้ผู้ช่วย

3. การสานและลายสานการทำเครื่องจักรสานของชาวนครไทย เริ่มต้นจากการ จักคือการเอามีดผ่าไม้ไผ่ ให้แตกออกจากกันเป็นเส้นบางๆ แล้ว สานเป็นเครื่องจักสานประเภทต่างๆ ให้มีรูปทรงสอดคล้องกับการใช้สอยและขนบนิยมของท้องถิ่น การนำแบบของลายใดมาใช้กับเครื่องจักสาน ใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่บรรพบุรุษได้ทดสอบใช้สืบต่อกันมาก ลายสานและกรรมวิธีในการสานในอำเภอนครไทยแบ่งออกเป็นแบบต่างๆ ได้ดังนี้

3.1 ลายขัด เป็นลายต้นแบบ ลักษณะของลายขัดเป็นการสร้างแรงยึดระหว่างตอกด้วยการขัดกันเป็นรูปมุมฉากระหว่างแนวตั้งแบแนวนอนใช้ตอกยืนแนวตั้ง สอดขัดกับตอกแนวนอนโดยยกเส้นหนึ่งจ่มหรือขัดลงเส้นหนึ่งสลับกันไป เรียกว่า ลายขัดหรือ ลายหนึ่งจากลายหนึ่งได้พัฒนามาเป็นลายสอย ลายสาม และรายอื่นๆ แต่ยังคงรักษาลักษณะการสอดและการขัดกันเช่นเดิม แต่ใช้เส้นตอกในแนวตั้งและแนวนอนมากกว่าหนึ่งเส้น และสอดขัดกันให้สลับไปสลับมาเกิดเป็นลายสอย ลายสาม และลายอื่นๆ

3.2 ลายทแยง เป็นวิธีสานที่ใช้ตอกขัดกันในแนวทแยง ไม่มีเส้นตั้งและเส้นนอน แต่จะสานจัดกันตามแนวทแยงเป็น หกเหลี่ยมเชื่อมกันไปเรื่อยๆ คล้ายรวงผึ้ง ลายชนิดนี้จึงมักสานโปร่ง เช่น ลายตาเข่ง ลายเฉลว ลายชะลอม

3.3 ลายอิสระ เป็นการสานที่ไม่มีแบบแผนตายตัว ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สานที่จะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองให้สอดคล้องกับความต้องการของตน

4. ประเภทของเครื่องจักรสาน เครื่องจักสานของชาวนครไทยสามารถแยกประเภทตามประโยชน์ใช้สอยได้ดังนี้4.1 เครื่องใช้ในการเกษตรกรรม เป็นเครื่องจักสานที่ทำขึ้นเพื่อสนองประโยชน์การใช้สอยของชาวไร่ ชาวนาและชาวสวน เช่นวี ใช้พัดเม็ดข้าวลีบออกจากข้าวเปลือก พ้อม ภาชนะบรรจุข้าวเปลือก เพื่อเก็บข้าวเปลือกไว้กินหรือเอาไว้ขาย เครื่องสีข้าวใช้สีข้าวเพื่อบริโภคเป็นข้าวที่สีด้วยมือ บุ้งกี๋ ใช้สำหรับตักดิน สุ่ม สำหรับขังไก่ ตะกร้า ใช้ใส่ของ เช่น หญ้า,ฝักข้าวโพดกระด้ง ใช้ฝัดข้าวและพืชชนิดอื่นๆ
4.2 เครื่องมือจับสัตว์และขังสัตว์น้ำ ที่ใช้อยู่ทั่วๆไปโดยเฉพาะบริเวณในที่ลุ่มหรือในท้องนา เช่น กระชัง ใช่ขังปลาไซ ใช้ดักปลา ข้อง ใช้ใส่ ปลา ,กบ,หอย และอื่นๆ สุ่ม ใช้สุ่มจับปลา แงบ(แอบ) ใช้ดักกบ อีจู้ เครื่องมือดักปลาไหลลอบ ใช้ดักปลา ซ่อน ใช้ดักปลา4.3 เครื่องใช้ในครัวเรือน ที่ชาวนครไทยใช้อยู่ทั่วไป เช่น กระติบข้าว ภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง หวด ใช้นึ่งข้าวคุ ทาชันใช้ตักน้ำ กระด้ง ใช้ใส่สิ่งของและตากสิ่งของ กระจาด ภาชนะสำหรับใส่สิ่งของและหาบ กระบุง ภาชนะที่ใช้ใส่สิ่งของหรือที่ใช้เป็นเครื่องตวง กระชอน ใช้คั้นกะทิ พัด ใช้พัดไฟและโอกาสอื่นๆ ชะลอม ใช้ใส่ผลไม้และสิ่งของอื่นๆตะกร้า(กะต้า) ใช้ใส่สิ่งของต่างๆ ใช้ได้ทั้งการหิ้ว หาบและคอนด้วยไม้คาน ไม้ตีแมลงวัน ใช้ตีแมลงวัน4.4 เครื่องใช้อื่นๆ ที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ กรงนก ใช้ขังนก ฝาบ้าน(เฮือน) ใช้เป็นส่วนประกอบของบ้านเรือน(ไม้ไผ่สาน)ตะกร้อ อุปกรณ์การเล่นกีฬา งอบ ใช้กันแดดและฝน เปล เปลเด็ก เสื่อ(สาด)ภาชนะที่ใช้ปูเพื่อให้สามารถนั่งหรือนอนในที่ต่างๆเครื่องจักรสาน ยังป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันของชาวนครไทยและยังมีการทำกันอยู่ในหลายท้องถิ่น ทั้งที่ทำเป็นอาชีพโดยตรงและทำเป็นอาชีพรองยามว่างจากการทำไร่ทำนา เครื่องจักสานเหล่านี้บางประเภทจะมีลักษณะเฉพาะถิ่น ตั้งแต่วิธีการสาน รูปแบบและประโยชน์ใช้สอย ฃึ่งมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ประโยชน์ใช้สอยความเชื่อและขนบธรรมเนียมของท้องถิ่น และวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมา แต่ในปัจจุบันได้มีเครื่องใช้พลาสติกเข้ามาแทนที่เครื่องจักสานบางชนิดทำให้เครื่องจักรสานค่อยๆหายไปที่ละอย่าง ดังนั้นถ้าไม่มีการฟื้นฟู เครื่องจักสานเหล่านี้อาจหายไปจากสังคมนครไทยก็ได้

วิธีการจักสาน

การ จักโดยทั่วไปนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิดซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะ ที่ แตกต่างกันไป หรือบ้างครั้งการจักไม้ไผ่ จะเรียกว่า ตอก ซึ่งการจักถือได้ว่าเป็นขั้นตอนของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสานขั้น แรก เมื่อมาถึงวิธีการจะเป็นกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่นำวัสดุ ธรรมชาติมาทำประโยชน์โดยใช้ความคิดและฝีมือมนุษย์เป็นหลัก การสานลวดลายจะสานลายใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้สอย ซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ การสานด้วยวิธีสอดขัด การสานด้วยวิธีการสอดขัดด้วยเส้นทแยง การสานด้วยวิธีขดเป็นวง ส่วนการถักจะเป็นกระบวนการประกอบที่ช่วยให้การทำเครื่องจักสานสมบูรณ์ การถัก เครื่องจักสาน เช่น การถักขอบของภาชนะจักสานไม้ไผ่ การถักหูภาชนะ เป็นต้น การถักส่วนมากจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอก เช่น ขอบ ขา ปาก ก้น ของเครื่องจักสานและเป็นการเพิ่มความสวยงามไปด้วยเครื่อง จักสานที่ผู้สูงอายุทำขึ้นนั้นจะมีหลากหลายชนิด ได้แก่ กระบุง กระจาด กระทาย กระบา กระทอ กระพ้อม กระเชอ กระเช้า กระพอก ชะลอม ตะกร้อ ปุ้งกี๋ หลัว ตะกร้า เข่ง เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องตวง ได้แก่กระชุ สัด กระบุง เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้ในครัวเรือน ได้แก่พัด กระชอน ตะแกรง ฝาชี กระด้ง หวด เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องประกอบอาคารบ้านเรือน ได้แก่ ฝาบ้าน พื้นบ้าน โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องจับดักสัตว์และขังสัตว์น้ำ ได้แก่ ชนาง ลอบ สุ่ม ไซ กระบัง กระจู้ กระชัง ตะข้อง ตะแกรง จั่น ฯลฯ

2.การตั้งสมมติฐาน

ข้อมูลเกี่ยวกับโลโก้

ชื่อไม้หอมมันไม่เจาะจงกับตัวสินค้า ต่อมาจึงได้แก้ไขชื่อเป็นการบูรหอม  มีการปริ้นหน้าหลังเพื่อไปเจาะรูแขวนบนบรรจุภัณฑ์และทำสายคาด


 ด้านหน้า

ด้านหลัง

 สายคาด

ขั้นตอนการทำตัวบรรจุการบูรเพื่อไม่ให้กลิ่นออก

วัดและตัดพลาสติกให้ได้ขนาดพอดีกับเครื่องจักรสาน


 นำมาม้วนและติดกาวให้เป็นทรงกระบอก

นำมาใส่ลงในเครื่องจักรสาน


ติดกระดาษเพื่อความสวยงาม หรือสามารถบอกถึงกลิ่นภายในได้ว่าเป็นกลิ่นอะไร
เช่น สีเขียวกลิ่นใบเตย สีแดงกลิ่นกุหลาบ กลิ่นพวกนี้จะเป็นกลิ่นอ่อนๆ

ทำรูปแบบต่างๆ เสร็จแล้วเจาะรูฝาด้านบนเพื่อให้กลิ่นออก 


ผลงานจากด้านบน


ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์














Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...